1.ต้องเลือกรถบรรทุกที่เหมาะกับการใช้งาน
ธุรกิจในแต่ละอุตสาหกรรมควรเลือกสรรรถบรรทุกที่เหมาะกับลักษณะการใช้งานเป็นอันดับแรก ไม่ว่าจะเป็น ประเภท ขนาด และน้ำหนักของสินค้า ระยะทางการขนส่ง หรือแม้กระทั่งลักษณะการขับขี่ของผู้ขับ เพื่อตอบโจทย์ธุรกิจได้อย่างมีประสิทธิภาพรวมถึงเพื่อความปลอดภัยของสินค้า ซึ่งปัจจุบันแบรนด์รถบรรทุกมอบตัวเลือกสินค้าที่หลากหลายเพื่อความเหมาะสมและประโยชน์สูงสุดของผู้ประกอบการค่ะ
2.ต้องมีทักษะและเข้าใจในการขับ.
คนขับเป็นกำลังสำคัญที่ช่วยขับเคลื่อนระบบโลจิสติกส์ของประเทศ ถ้าคนขับรู้หลักการ รู้ข้อมูล รู้เทคนิค ก็จะมีความเสี่ยงที่จะเกิดอุบัติเหตุน้อย เวลาออกสู่ท้องถนน หรือถ้าใครจบจากสถาบันสอนขับรถที่มีมาตรฐานและมีความน่าเชื่อถือในวงการ ก็จะเป็นที่ต้องการของบริษัทขนส่งรายใหญ่ที่ให้ผลตอบแทนสูง และมีโอกาสที่จะได้งานสูงตามไปด้วยเช่นเดียวกัน เพราะแม้จะขับรถและทำไปขับขี่ได้แต่ไม่ได้เรียนรู้เรื่องหัวใจสำคัญของการขับรถขนส่งก็เท่านั้น
3.ต้องมีใบขับขี่ประเภท 2
ใบขับขี่ประเภท 2 บ.2 คือ ใบอนุญาตขับรถประเภทส่วนบุคคล คือ การอนุญาตให้สามารถขับขี่เพื่อขนส่งส่วนบุคคลได้ เช่น รถบัส, รถบรรทุก 6 ล้อ และรถบรรทุก 10 ล้อ เป็นต้น (ป้ายทะเบียนสีขาว)
ใบขับขี่ประเภท 2 ท.2 คือ ใบอนุญาตประเภทขับขี่เพื่อขนส่งได้ทุกประเภท ไม่ว่าจะเป็นใช้สำหรับขนส่งเพื่อการพาณิชย์ ธุรกิจส่วนตัว ใช้ขนส่งเพื่อรับจ้าง การขนส่งคน สิ่งของ หรือประกอบธุรกิจการขนส่งได้ เช่น รถบรรทุกสาธารณะ รถบัส, รถบรรทุก 6-10 ล้อ (ป้ายทะเบียนสีเหลือง)
4.ต้องรู้เรื่องการจำกัดเวลา และพื้นที่ห้ามวิ่ง
–ห้ามรถบรรทุกก๊าซ วัตถุไวไฟ ตั้งแต่ 6 ล้อขึ้นไป และรถพ่วง เดินรถในเขตกรุงเทพฯ ตั้งแต่เวลา 06.00-22.00 น.ทุกวัน เว้นวันอาทิตย์
–รถบรรทุก 6 ล้อขึ้นไป ห้ามวิ่งในเวลา 06.00-09.00 น. และ เวลา 16.00-20.00 น. ยกเว้นวันหยุดราชการ
–รถบรรทุก 10 ล้อขึ้นไป ห้ามวิ่งในเวลา 06.00-10.00 น. และ เวลา 15.00-21.00 น. ยกเว้นวันหยุดราชการ
–ห้ามรถบรรทุกอื่น เช่น บรรทุกซุง เสาเข็ม เดินรถ เวลา 06.00-21.00 น.
วิ่งบนทางด่วน
–รถบรรทุก 6 ล้อขึ้นไป ห้ามวิ่งเวลา 06.00-09.00 น. และ 16.00-20.00 น.
–รถบรรทุก 10 ล้อขึ้นไป ห้ามวิ่งเวลา 06.00-09.00 น. และ 15.00-21.00 น.
–รถบรรทุกสารเคมี ห้ามวิ่งเวลา 06.00-10.00 น. และ 15.00-22.00 น.
5.ต้องมีความรู้เรื่องน้ำหนักบรรทุก
ปัจจุบัน พ.ร.บ.ทางหลวง ฉบับแก้ไขเพิ่มเติมกำหนดพิกัดน้ำหนักรถบรรทุกสิบล้อต้องรวมไม่เกิน 50.5 ตัน จากเดิมที่เคยอนุญาตให้บรรทุกได้ถึง 58 ตัน โดยน้ำหนักรถบรรทุกที่ถูกต้องตามกฎหมายกำหนดนั้น แบ่งแยกออกเป็นประเภทรถได้ ดังนี้
รถบรรทุกขนาด 4 ล้อ ต้องบรรทุกไม่เกิน 9.5 ตัน
รถบรรทุกขนาด 6 ล้อ ต้องบรรทุกไม่เกิน 15 ตัน
รถบรรทุกขนาด 10 ล้อ ต้องบรรทุกไม่เกิน 25 ตัน
รถพ่วง 6 เพลา 22 ล้อ ต้องบรรทุกไม่เกิน 50.5 ตัน
6.ต้องมีผ้าคลุมแน่นหนาและมีอุปกรณ์ล็อค
สำหรับการขับรถผู้ขับรถบรรทุกต้องมีความรู้เกี่ยวกับการคลุมผ้าใบ ซึ่งต้องใช้ผ้าใบสีทึบเพื่อไม่ให้ส่งแสงสะท้อนสู่ผู้ขับขี่ร่วมทาง และต้องยึดติดกับตัวรถให้มีความแน่นหนาพอที่ไม่ให้สิ่งของรั่วไหล ตกหล่น จนทำให้เกิดอันตรายแก่บุคคลอื่นได้ หากฝ่าฝืน จะมีโทษปรับตาม พ.ร.บ.การขนส่งทางบก โดยมีโทษปรับสูงสุด 50,000 บาท และนายทะเบียนอาจพักใช้ หรือเพิกถอนใบอนุญาต ส่วนคนขับมีโทษปรับไม่เกิน 5,000 บาท และหากเกิดความเสียหายแก่บุคคลอื่น ผู้ประกอบการจะต้องชดใช้ตามกฎหมายแพ่งและพาณิชย์อีกด้วย
7.ต้องติดตั้งและเปิด GPS ตลอดเวลา
ปัจจุบันกรมการขนส่งทางบกได้กำหนดให้ รถโดยสารสาธารณะและรถบรรทุกขนส่ง ที่จดทะเบียนใหม่ บางประเภท ต้องติดตั้งระบบ GPS ขนส่ง เพื่อ เชื่อมโยงข้อมูลเข้ากับศูนย์บริหารจัดการเดินรถของกรมการขนส่งทางบก โดยจัดเก็บข้อมูลรถทุก 1 นาที เป็นข้อมูลการใช้ความเร็ว, ชั่วโมงการขับขี่ และตำแหน่งพิกัดของรถ ซึ่งจะเป็นเครื่องมือ ที่สามารถช่วยให้ผู้ประกอบการขนส่งติดตามพฤติกรรมผู้ขับรถ เพื่อกำหนดมาตรการในการป้องกันและลดอุบัติเหตุที่เกิดขึ้นกับรถโดยสารสาธารณะและรถบรรทุก
อีกทั้งยังสามารถใช้เป็นเครื่องมือบริหารการขนส่งทางบกให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด โดยกลุ่มรถบรรทุกขนส่ง ที่ต้องติดตั้ง GPS ขนส่ง คือ รถลากจูง, รถบรรทุกขนาดใหญ่ (10 ล้อขึ้นไป) และรถขนวัตถุอันตราย หากไม่ติดตั้ง หรือไม่ดูแลรักษาสภาพเครื่องให้ส่งสัญญาณ GPS ได้ตามปกติ ถือว่ามีโทษ ปรับตั้งแต่ 1,000 – 5,000 บาท และจะไม่สามารถต่อทะเบียนรถคันดังกล่าวได้
เป็นกันอย่างไรบ้างคะ ความรู้พวกนี้คือพื้นฐานที่สำคัญมากๆเลย อย่าละเลยนะคะพี่ๆ